วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

cms

CMS






CMS เป็นระบบที่ออกแบบให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านเวิร์กโฟลว์ ซึ่งการทำงานแบบเวิร์กโฟลว์จะพบเห็นได้ในระบบในระดับไฮเอนด์ทั่วไป เพราะมีประสิทธิภาพสูง และช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องเสมอ โดยขั้นตอนในการปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ อาจมีเวิร์กโฟลว์ดังนี้


ผู้บริหารระดับสูงเห็นชอบให้มีการสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
ผู้พัฒนาหรือกลุ่มผู้พัฒนาสร้างเทมเพลต และโฟลเดอร์เพื่อรองรับ
ตรวจสอบความถูกต้อง
กระจายงานสู่กลุ่มพนักงาน
กลุ่มพนักงานสร้างเนื้อหาใหม่ หรือแก้ไขเนื้อหา
ผู้ดูแลเว็บไซต์อนุมัติ
รวบรวมข้อมูลนำขึ้นเว็บไซต์ได้ โดยงานในแต่ละส่วนของเวิร์กโฟลว์สามารถส่งต่อไปยังส่วนใดๆ ของเวิร์กโฟลว์ก็ได้


Content Management System ที่มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต) CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้


http://www.proline.co.th/forum/index.php?topic=147.0




LMS








LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบ LMSLMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้



1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ


2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media


3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน


4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้


5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

http://www.tsu.ac.th/cc/wbl_training/lms.htm









LCMS











LCMS (Learning Management System) เกิดจากแนวคิดการพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้ ให้
สามารถรองรับการพัฒนาเนื้อหาด้วย ประกอบกับได้มีความนิยมในเรื่องการสร้างบทเรียนที่สามารถนำ
กลับมาใช้ใหม่ (Reusable Learning Object) ทำให้เกิดการพัฒนาให้ LMS มีส่วนของระบบการสร้าง
เนื้อหา ระบบการจัดเก็บและสืบค้นเนื้อหา เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบบทเรียนต่างๆได้ หากมอง
ในอีกมุม LCMS ก็คือ การบูรณาการระหว่าง CMS และ LMS นั่นเอง








http://images.suwalaiporn.multiply.multiplycontent.com/



ความแตกต่าง

CMS, LMS, LCMS

CMS มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต) CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้ แต่

LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ
1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น Claroline (
www.claroline.net), LearnSquare (www.learnsquare.com), VClass (www.vclass.net), Sakai (www.sakaiproject.org), ILIAS (http://www.ilias.de)
2. ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS) เช่น
Blackboard Learning System, WebCT, Lotus Learning Management System, Education Sphere (www.educationsphere.com), Dell Learning System (DLS) (www.dell.com), De-Learn (www.de-learn.com), i2 LMS (www.progress-info.co.th) แต่



Learning Content Management System หรือ LCMS นั้น ใช้ในการสร้างระบบเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) สามารถแยกผู้ใช้งานเป็น 3 ส่วน คือส่วนผู้ดูแลระบบ (Administrator) ส่วนอาจารย์ผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Content Developer) และส่วนผู้เรียน (Student) Tools ที่เป็น Open source หรือ Freeware และได้รับความนิยมในแวดวงการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ Moodle (www.moodle.org), ATutor (www.atutor.ca) เป็นต้น

*LCMS = LMS+CMS

LMS (Learning Management System) คือ ระบบติดตาม/บริหารจัดการเรียนรู้

CMS (Content Management System) คือ ระบบบริหารจัดการหลักสูตร/เนื้อหา

http://gotoknow.org/blog/porjai/52645

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

การแต่งภาพ



ขั้นตอนที่ 1ใส่ภาพ

1.หาภาพที่เราต้องการ1ภาพ

2.จัดหน้าให้เรีบยร้อย

3.คลิกแก้ไขภาพ

4.เลือกเพิ่มวัตถุและคลิกไฟล์รูปภาพ

5.เลือกภาพถ่าย











ขั้นตอนที่2 การใส่ข้อความ


1.นำภาพมาวางตามขั้นตอนที่1


2.เลือกเพิ่มวัตถุและคลิกที่อักษรตัวT


3.พิมพ์อักษรตามที่ต้องการ


4.คลิกไฟล์รูปภาพ


5.เลือกภาพได้ตามต้องการ


6.จัดวางตำแหน่งให้สวยงาม