วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

bcc typing toter V 1.2c

bcc typing toter V 1.2c







โปรแกรมฝึกพิมพ์สามารถฝึกได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หรือโปรแกรมพิมพ์ดีด นั้นเอง

เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ และผู้ที่ต้องการเพิ่มความเร็วในการพิมพ์

โดยโปรแกรมจะมีแบบการเรียนการสอนตั้งแต่เริ่มแรกการจับแป้นเหย้าภาษาไทย คือ ฟ ห ก ด ่ า ส ว

แป้นเหย้าภาษอังกฤษ a s d f j k l ; และมีแบบฝึกหัดให้ได้ฝึกกันเต็มที่ 25 บทเรียน

เมื่อฝึกเสร็จแต่ระบบระบบจะสรุปผมการพิมพ์ได้ด้วยเช่น เปอร์เซนต์การพิมพ์ผิด/ถู

ความเร็วในการพิมพ์คิดเป็น คำ/นาที

และเก็บสถิติตั้งแต่เริ่มต้นจนจบแบบฝึกหัดเพื่อเปรียบเทียบและดูพัฒนาการ ของเราเองได้ด้วย

*****************************************************************

วิธีใช้



1. กด F1 เมื่อต้องการความช่วยเหลือของโปรแกรม

2. กด F2 เพื่อเลือกเปลี่ยนแบบฝึกหัด แล้วพิมพ์บทแบบฝึกหัดที่ต้องการ แล้วกด


Enter หรือใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนขึ้น-ลง เลื่อนไปหาแบบฝึกหัดในบทที่ต้องการ


แล้วตามด้วย Enter

3. กด F3 เพื่อเลือกระหว่างพิมพ์ดีดไทย/


อังกฤษ ติดตั้งตัวเลือกต่าง ๆ ดังนี้


3.1 กด T เมื่อต้องการพิมพ์ดีดภาษาไทย หรือกด E เมื่อต้องการพิมพ์


ดีดภาษาอังกฤษ


3.2 ให้เลือกว่าต้องการมีเสียงเตือนหรือไม่ ตอบ Y เมื่อต้องการมีเสียง


เตือนตอบ N เมื่อไม่ต้องการมีเสียงเตือน

4. กด F4 เพื่อออกจากโปรแกรม


ตอบ Y เมื่อต้องการออก


ตอบ N เมื่อต้องการยกเลิก

5. กด F5 เพื่อให้เครื่องแสดงสถิติการพิมพ์

6. กด F6 เพื่อเลือกการแสดงผลและแป้นพิมพ์ T/E หรือ กดปุ่ม ~


หรือ Alt เพื่อสลับแป้นพิมพ์ T/E



******************************************************************

กลุ่มเป้าหมาย

เด็กชั้นประถม 1-6


ข้อดี

1. ช่วยให้เรามีทักษะในการพิมพ์ที่ดีขึ้น

2. ทำให้เราพิมพ์งานได้ว่องไว ประหยัดเวลา



ข้อเสีย

1. รูปแบบโปรแกรมยังไม่ค่อยสวยงาม


2.เสียงของโปรแกรมยังไม่สนุก ทำให้รู้สึกน่าเบื่อ


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Rapid Typing Tutor


วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

A1 Hangword

A1 HangWord

ป็นเกมสร้างเด็กสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำและการสะกดคำ


จุดมุ่งหมายของเกมสะกดฟรีคือการสร้างคำให้คาดเดาก่อนหมด


รือคนอื่นจะกลายเป็นแขวน


เกมสะกดเป็นประโยชน์มากในการเพิ่มคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั่วไปและคำศัพท์กิจกรรม


คุณสมบัติรวม 9,000 คำฐานข้อมูลพจนานุกรมภาษาอังกฤษและทันสมัย



_______________________________________________

กลุ่มเป้าหมาย


เด็ก ชั้นประถม 1-6


******************************
ข้อดี


1.ช่วยให้เด็กมีทักษะทางภาษาอังกฤษดีขึ้น


2.สร้างความสนุกสนาน


3.ช่วยให้เด็กมีความรู้มากยิ่งขึ้น


4.มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ดีขึ้น


********************************************

ข้อเสีย


1.หน้าจอของโปรแกรมเล็กเกินไป


2.เสียงของเกมส์ ไม่ค่อยสนุก

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความที่น่าสนใจ

เทคนิคการอ่านหนังสือยังไงให้จำง่ายๆ
ข้อที่ 1. น้องๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยล่ะ ดูซิ!!!ว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีท เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะค่ะ หาให้เจอล่ะ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะค่ะ
ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะ
ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะ
ข้อที่ 4.เริ่ม อ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยค่ะ ตรงนี้แหละสำคัญมาก น้องๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะค่ะ ต่อให้น้องๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?" อ่ะๆๆๆ!!! อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกเจ้าค่ะ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ น้องๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ค่ะ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้ง
ข้อที่ 5.นั้น งัยๆๆๆพี่บอกไปตะกี้เองนะค่ะว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิ!!!น้องๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิค่ะ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4หายไปๆๆๆๆ ส่วนน้องๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่พี่เฉลย น้องก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละค่ะ เก่งมากๆเลย ส่วนน้องๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละค่ะไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่พี่บอกไว้
ข้อที่ 6.อ่ะ ต่อๆๆ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะค่ะ ถ้าน้องๆอ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากน้องๆ จะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะจ๊ะ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยน้า...
อย่าทรมาณตัวเองละ
ข้อที่ 7.ใน การอ่านหนังสือ น้องๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะจ๊ะ แล้ว
มื่อน้องๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้น้องๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่นพักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(อ่ะๆๆๆเลือเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ไม่รู้ด้วยนะเจ้าค่ะ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะเจ้าค่ะ แต่ๆๆๆๆแล้วก็แต่...อย่าพักจนเพลินละ เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือ ต่อเลยยย (เอาน่าๆทนเอาหน่อยนะเจ้าค่ะ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)
ข้อที่ 8.นั้น แน่ๆ พี่รู้นะว่าน้องๆเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้ว คงคิดใช่มั้ยละ ว่าพี่จะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!!! ดีแล้วค่ะถ้าน้องๆคิดแบบนี้นะ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ ดีค่ะๆ อ่ะต่อๆ
ข้อที่ 9.อ้า.... อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!!!ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละค่ะ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะ ตั้งสตินะค่ะตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้น้องๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้น้องๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลย จำได้มั้ยเอ๋ยว่าในการอ่านรอบแรกพี่ให้น้องๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่า น่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่น้องๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยค่ะ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละน่ะ)
ข้อที่ 10.เอา ละ...อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย น้องๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมี ปัญหาเลยก็ดีไป
ส่วนน้องคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว
อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะค่ะ
หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึง ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะค่ะ
เพราะเดี๋ยวน้องๆอาจป่วยได้ แล้วเป็นงัยน่ะ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะเจ้าค่ะ สำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะค่ะ
ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าค่ะ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น
แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะค่ะน้องๆ
*****ความสุขของการได้รัก*****
ความจริงก็คือ ในขณะที่เรากำลังคิดถึงใครคนนึงตลอดเวลา เ
ค้าคนนั้นอาจกำลังคิดถึงใครคนอื่นอยู่ก็เป็นได้
และบางครั้งก็อาจมีใครบางคนที่คิดถึงเราอยู่โดยที่เราไม่สนใจเลยเช่นกัน
บางครั้งการได้ฝันไปคนเดียว มันก็ดีกว่าการได้รู้ความจริงที่ว่า...
"สิ่งที่เราคิดทั้งหมดมันคือความฝันของเราเพียงคนเดียว"
<<<<<>>>>ฉะนั้นไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะจมอยู่กับความฝันมากกว่าการได้รู้ความจริง การไม่ได้เป็นที่หนึ่งในใจเค้าไม่ใช่เรื่องน่าเศร้า
เราอาจได้เป็นที่ 2 ซึ่งมันก็ยังดีกว่าได้เป็นที่ 3หรือ 4...
และหากเราเป็นที่ 10 ในใจเค้า.....
ก็ขอให้คิดไว้ว่าก็ยังดีกว่าเราไม่มีความสำคัญอะไรในใจเค้าเลย.....
มันอาจต้องมีน้ำตาบ้าง ในการยอมรับความจริงว่าเราไม่ใช่ที่ 1...
แต่โปรดจำไว้เถอะว่า
หากหัวใจของคุณยังไม่ร้องไห้ออกมาดังๆพร้อมกับพูดกับตัวเองว่า...
"ฉันเหนื่อยเหลือเกิน โปรดห้ามใจเถอะก่อนที่ฉันจะอ่อนล้าไปมากกว่านี้...."
ก็จงชอบต่อไปเถอะ การรักใครสักคนไม่ต้องการความพยายาม...
การตัดใจต่างหากที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากมาย
ลองชั่งน้ำหนักในใจคุณดูสิว่า
"ความสุขยามที่ได้สบตาเค้า" กับ "ความทุกข์ยามที่คุณต้องคอยหลบตาเค้า"
อันไหนมันหนักหนากว่ากัน
คนเดียว คนที่คุณใส่ใจ
อย่าโทษตัวเองที่มาเจอเค้าสายเกินไป... อย่าโทษเค้าที่ไม่มีใจให้...
อย่าโทษโชคชะตาที่ทำให้เราพบกัน แต่ไม่ได้ทำให้เราใจตรงกัน...
แต่จงยิ้มให้กับตัวเอง ที่อย่างน้อย
ถึงจะพบเค้าคนนั้นสายเกินไป แต่ก็ยังได้พบ... ยิ้มให้เค้า
ที่ถึงจะไม่ได้ให้ใจเรามา แต่ก็ยังได้รับหัวใจเราไป....
ยิ้มให้โชคชะตา ที่ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้เรารักกัน แต่ก็ยังทำให้เราได้รู้จักกัน...
คุณควรจะดีใจด้วยซ้ำ ที่ครั้งหนึ่ง... คุณได้เจอคนที่คุณอยากเก็บรอยยิ้มของเค้าไว้
กว่าตัวคุณเอง...
คนที่ทำให้คุณหัวเราะและร้องไห้ได้มากมาย...
คนที่ยิ้มของเค้าเปลี่ยนวันที่หมองหม่นของคุณให้กลายเป็นวันที่สดใส...
เท่านี้ก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ?
แค่การได้เห็นคนที่เรารักได้หัวเราะอยู่กับใครสักคน คนที่เค้ารักมากที่สุด.....
นั้นแหละคือ... ความสุขของการได้รัก...อย่างจริงใจ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

cms

CMS






CMS เป็นระบบที่ออกแบบให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านเวิร์กโฟลว์ ซึ่งการทำงานแบบเวิร์กโฟลว์จะพบเห็นได้ในระบบในระดับไฮเอนด์ทั่วไป เพราะมีประสิทธิภาพสูง และช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องเสมอ โดยขั้นตอนในการปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่ อาจมีเวิร์กโฟลว์ดังนี้


ผู้บริหารระดับสูงเห็นชอบให้มีการสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
ผู้พัฒนาหรือกลุ่มผู้พัฒนาสร้างเทมเพลต และโฟลเดอร์เพื่อรองรับ
ตรวจสอบความถูกต้อง
กระจายงานสู่กลุ่มพนักงาน
กลุ่มพนักงานสร้างเนื้อหาใหม่ หรือแก้ไขเนื้อหา
ผู้ดูแลเว็บไซต์อนุมัติ
รวบรวมข้อมูลนำขึ้นเว็บไซต์ได้ โดยงานในแต่ละส่วนของเวิร์กโฟลว์สามารถส่งต่อไปยังส่วนใดๆ ของเวิร์กโฟลว์ก็ได้


Content Management System ที่มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต) CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้


http://www.proline.co.th/forum/index.php?topic=147.0




LMS








LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบ LMSLMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้



1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ


2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media


3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน


4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้


5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้

http://www.tsu.ac.th/cc/wbl_training/lms.htm









LCMS











LCMS (Learning Management System) เกิดจากแนวคิดการพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้ ให้
สามารถรองรับการพัฒนาเนื้อหาด้วย ประกอบกับได้มีความนิยมในเรื่องการสร้างบทเรียนที่สามารถนำ
กลับมาใช้ใหม่ (Reusable Learning Object) ทำให้เกิดการพัฒนาให้ LMS มีส่วนของระบบการสร้าง
เนื้อหา ระบบการจัดเก็บและสืบค้นเนื้อหา เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบบทเรียนต่างๆได้ หากมอง
ในอีกมุม LCMS ก็คือ การบูรณาการระหว่าง CMS และ LMS นั่นเอง








http://images.suwalaiporn.multiply.multiplycontent.com/



ความแตกต่าง

CMS, LMS, LCMS

CMS มีความฉลาดมากๆ จะยอมให้ผู้ดูแลสามารถปรับแต่งเวิร์กโฟลว์ของระบบได้ เพียงแค่ใช้เมาส์ลากแล้ววาง เพื่อปรับแต่งไดอะแกรมของเวิร์กโฟลว์ หรือกำหนดขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์กับยูสเซอร์แต่ละรายได้ด้วย เช่น กลุ่มของผู้บริหารระดับสูงสามารถแจ้งข่าวกับพนักงานผ่านทางเว็บไซต์ของระบบอินทราเน็ตในองค์กรได้ทันที หรือการเพิ่มเติมข่าวสาร เนื้อหาจากยูสเซอร์บางราย ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลระบบ หรือฝ่ายกฏหมายขององค์กรก่อนนำข่าวสารนั้นเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ต) CMS ช่วยแบ่งโครงสร้างในการจัดการกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยแยกส่วนเนื้อหา ออกจากวิธีการแสดงผล ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกกันทำงานได้ แต่

LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ
1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น Claroline (
www.claroline.net), LearnSquare (www.learnsquare.com), VClass (www.vclass.net), Sakai (www.sakaiproject.org), ILIAS (http://www.ilias.de)
2. ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS) เช่น
Blackboard Learning System, WebCT, Lotus Learning Management System, Education Sphere (www.educationsphere.com), Dell Learning System (DLS) (www.dell.com), De-Learn (www.de-learn.com), i2 LMS (www.progress-info.co.th) แต่



Learning Content Management System หรือ LCMS นั้น ใช้ในการสร้างระบบเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) สามารถแยกผู้ใช้งานเป็น 3 ส่วน คือส่วนผู้ดูแลระบบ (Administrator) ส่วนอาจารย์ผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Content Developer) และส่วนผู้เรียน (Student) Tools ที่เป็น Open source หรือ Freeware และได้รับความนิยมในแวดวงการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ Moodle (www.moodle.org), ATutor (www.atutor.ca) เป็นต้น

*LCMS = LMS+CMS

LMS (Learning Management System) คือ ระบบติดตาม/บริหารจัดการเรียนรู้

CMS (Content Management System) คือ ระบบบริหารจัดการหลักสูตร/เนื้อหา

http://gotoknow.org/blog/porjai/52645

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

การแต่งภาพ



ขั้นตอนที่ 1ใส่ภาพ

1.หาภาพที่เราต้องการ1ภาพ

2.จัดหน้าให้เรีบยร้อย

3.คลิกแก้ไขภาพ

4.เลือกเพิ่มวัตถุและคลิกไฟล์รูปภาพ

5.เลือกภาพถ่าย











ขั้นตอนที่2 การใส่ข้อความ


1.นำภาพมาวางตามขั้นตอนที่1


2.เลือกเพิ่มวัตถุและคลิกที่อักษรตัวT


3.พิมพ์อักษรตามที่ต้องการ


4.คลิกไฟล์รูปภาพ


5.เลือกภาพได้ตามต้องการ


6.จัดวางตำแหน่งให้สวยงาม

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปค่ะ

Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ
คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

Virtual class roomห้องเรียนเสมือน หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้ากระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ส่งงานค่ะ

ความหมายของคำต่อไปนี้



E-learning
หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดี่ย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่า เนื้อหาการเรียน ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านทาง มัลติมีเดี่ยนั้นสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การที่เนื้อหาการ เรียนอยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) ซึ่งได้แก่ขอ้ความซึ่งได้รับการจัดเก็บ ประมวล นำเสนอ และเผยแพร่ทาง คอมพิวเตอร์จึงทำให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ด้วยความ สะดวกและรวดเร็วความคงทนของข้อมูล รวมมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา




Web Base Instruction (WBI)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ ( Web base Instruction ) จึงหมายถึง การรวมคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) กับ คุณลักษณะของอินเตอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนมี ปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน






Computer Assisted Instruction (CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อทำการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือ ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับผู้เรียนในห้องเรียนมากที่สุด โดยนำเสนอสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก แผนภูมิ วีดีทัศน์และเสียง โดยจะนำเสนอเนื้อหาทีละจอภาพ ซึ่งเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา





Computer Manage instruction (CMI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI : Computer Assisted Instruction หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์เพื่อทำการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือ ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับผู้เรียนในห้องเรียนมากที่สุด โดยนำเสนอสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก แผนภูมิ วีดีทัศน์และเสียง โดยจะนำเสนอเนื้อหาทีละจอภาพ ซึ่งเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะได้รับการถ่ายทอดในลักษณะที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของเนื้อหา การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการสอนโดยมีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ (Tutor) การจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น




Mobile Learning (M-Learning)
m-Learning (mobile learning) คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน




Virtual class room
ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน


บอกความเหมือนและความแตกต่างของคำต่อไปนี้



E-Learning กับ Web Base Instruction (WBI)
E-learning เป็นเสมือนวิวัฒนาการของ WBI ส่วน WBI เป็นการเรียนทางไกลผ่านทางเว็บ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตก็ตามส่วน E-learning หมายถึงการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จะเห็นได้ชัดว่า WBI และ E-learning ต่างก็เป็นการผสมผสานระหว่าง web technology กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (anywhere, anytime) ในการเรียน แต่เดิมการเรียนการสอนแบบ WBI มักจะเน้นเนื้อหาในลักษณะตัวหนังสือ (text-based) และภาพประกอบ หรือ วิดีทัศน์ที่ไม่ซับซ้อนเท่านั้น ดังนั้นความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง WBI กับ E-learning นั้น แทบจะไม่มีเลย แต่ E-learning เป็นเสมือนวิวัฒนาการของ WBI นั้นเอง



Computer Assisted Instruction (CAI) กับComputer Manage instruction (CMI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted/Aided Instruction) หรือ CAIเป็นการสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยนำเสนอเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมแทนผู้สอน โดยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่นักเรียนป้อนกลับเข้าไปได้ทันที ต่างจาก คอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอน (Computer-Managed Instruction) หรือ CMI เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่ครูผู้สอนนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดทำสื่อ การเรียนการสอน แผนกวิชาการ นำคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดตารางสอน การลงทะเบียนเรียน




Web Base Instruction (WBI) กับComputer Assisted Instruction (CAI)
Web Base Instruction (WBI) การรวมคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) กับ คุณลักษณะของอินเตอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บ มาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน ต่าง กับ Computer Assisted Instruction (CAI) คือ ขจัดอุปสรรคในการเรียนการสอนทำให้สะดวกสบายในการเรียนการสอนWeb Base Instruction (WBI) กับComputer Assisted Instruction (CAI) คือ CAI จะเหมือนกันตรงที่จะเป็นการเพิ่มบทเรียนต่างๆเข้ามาเพื่อสร้างความน่าสนใจมากขึ้น





Computer Assisted Instruction (CAI) กับ Mobile Learning (M-Learning)
(Computer Assisted Instruction : CAI ) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ทั้งข้อความ ภาพและสียง มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ ทำแบบทดสอบ และสามารถรับการตอบสนองได้ทันที ต่างจาก m-Learning (mobile learning) คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ




แหล่งอ้างอิง


http://dit.dru.ac.th/home/023/cai/02.htm
http://www.thaiwbi.com/topic/com_ed/
http://learners.in.th/blog/com4ed1066/104436
http://learners.in.th/blog/mlearning/310049
http://ultramim.multiply.com/journal/item/15